ปิดตำนาน Ensogo ถึงยุคตกต่ำเว็บดีล

28
Jun

กรณีเว็บไซต์ Ensogo ปิดกิจการกะทันหัน สะท้อนความผิดพลาดของธุรกิจเว็บดีล ที่มาสู่ยุคตกต่ำแล้วหรือยัง เจ้าของเว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ราคูเท็น ตลาดดอทคอม แนะว่า เว็บไซต์ดีลอาจจะไม่ได้รับความนิยมในไทยแล้ว

21 มิถุนายน 2559 เพจ “รวมผู้ได้รับผลกระทบ Ensogo” เปิดตัวขึ้น หลังจากซีอีโอของบริษัท อย่าง คริส มาร์ซาเลก ลาออกและมีผลก่อนหน้านั้นเพียงวันเดียว ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่เพจของ Ensogo ไทยแลนด์ โฆษณาดีลสุดท้ายในวันที่ 20 มิถุนายน เวลา 09.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ผู้บริโภคได้รับโทรศัพท์จากผู้ให้บริการว่า คูปองดีลที่ซื้อไว้จาก Ensogo ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว

คุณป้อม ภาวุธ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ ราคูเท็น ตลาด ดอท คอม กล่าวว่า เว็บไซต์ Ensogo เป็นเว็บดีลที่มีความน่าเชื่อถือสูงมาก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสถานการณ์วิกฤต ซึ่งอาจมาจากปัญหาภายในและแผนธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป หากเทียบกับในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีเว็บขายดีลค่อนข้างมาก และปิดตัวไปก็มากเช่นกัน

หลังจาก Ensogo ปิดตัวลง ก็เกิดคำถามตามมาว่า ปัญหาที่ยังค้างคาในกลุ่มผู้ซื้อดีล และผู้ประกอบการที่เป็นกิจการร่วมค้ากับ Ensogo จะต้องทำอย่างไรต่อไป ในช่วงแรก ร้านค้าและบริการหลายแห่งปฏิเสธที่จะให้บริการกับลูกค้าที่ซื้อดีล Ensogo แต่เมื่อมีท่าที่ชัดเจนออกมาจากหน่วยงานในกำกับของรัฐ ทั้ง สคบ.และ ETDA ย้ำชัดว่าผู้ประกอบการจะต้องให้บริการผู้ซื้อดีล หากปฏิเสธ จะมีความผิดทันที เพราะการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ได้รับความคุ้มครองทันทีที่คลิกซื้อและจ่ายเงิน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ทำให้ผู้ให้บริการและบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ ไม่สามารที่จะปฏิเสธการใช้คูปอง Ensogo ได้

ซึ่งถือเป็นโอกาสของแบรนด์ ที่สามารถกอบกู้สถานการณ์ในภาวะวิกฤตที่ลูกค้าหาทางออกไม่เจอ กลายเป็นผู้ที่ได้ใจลูกค้าทันที อย่างเช่น เอส เอฟ ซีนีม่า เป็นแบรนด์แรกๆ ที่ยินดีให้บริการลูกค้าที่ซื้อดีล Ensogo

ธนาคารไทยพาณิชย์ ออกมาประกาศว่า ลูกค้าที่ใช้บัตรเครดิต SCB ซื้อดีล Ensogo แล้วใช้ดีลไม่ได้ สามารถขอทำเรื่องปฏิเสธรายการได้ ซึ่งบัตรเครดิตเป็นอีกประเด็นกังวลของลูกค้าที่เลือกซื้อสินค้าด้วยผ่อนชำระ และอยู่ในระหว่างการหักเงินชำระรายเดือน ธนาคารไทยพาณิชย์จึงได้ใจลูกค้าไป

ปัจจุบัน ยังมีเว็บไซต์ดีลในลักษณะเดียวกับ Ensogo จำนวนมากในไทย แต่รายหลักๆ ค่อยๆถอนการลงทุนจากไทยไปแล้ว ที่ยังมีอยู่และยังคงเปิดจำหน่ายตามปกติ เช่น เว็บไซต์ ออลไทย คูปอง (www.allthaicoupons.com) หรือ ไอดีล อินไทย (http://www.idealinthai.com/) ที่รวบรวมดีลที่มีส่วนลดสูงระดับ 50% ขึ้นไปจำนวนมาก ครอบคลุมที่พัก , รีสอร์ท , ความงาม และบริการการท่องเที่ยวจำนวนมาก บางดีลลดราคากว่า 95%

Ensogo มีลูกค้ามากกว่า 500 ล้านคน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของออสเตรเลีย มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สิงคโปร์ เปิดให้บริการใน 6 ประเทศคือ ฮ่องกง , สิงคโปร์ , มาเลเซีย , ฟิลิปปินส์ , อินโดนีเซียและประเทศไทย เริ่มกิจการครั้งแรกในไทยเมื่อปี 2553 ทุนเริ่มต้น 2 แสนเหรียญสหรัฐฯ ก่อตั้งโดยทอม, จอห์น และพอล ศรีวรกุล 3 พี่น้อง ลูกครึ่งไทย-ฟิลิปปินส์ ในช่วงเริ่มต้นมีพนักงาน 5 คน และเพิ่มเป็น 430 คนในระยะเวลา 1 ปี และเปิดสาขาที่ฟิลิปินส์กับอินโดนิเซียเพิ่ม

ความสำเร็จอย่างรวดเร็วทำ ให้ 1 ปีต่อมา เว็บไซต์ LivingSocial รายใหญ่จากสหรัฐฯ ยอมจ่าย 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซื้อกิจการ Ensogo ในไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และโซนตะวันออกกลาง ปี 2557 เว็บไซต์ Ensogo เปลี่ยนมือบริหารอีกครั้ง โดย LivingSocial ขายกิจการให้กับ iBuy Group ในมูลค่า 18.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แม้จะมีความพยายามในการปรับกลยุทธ์ ไปขายสินค้าเบ็ดเตล็ดมากขึ้น แต่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในแวดวงการค้าออนไลน์ที่ดุดเดือดมาพักใหญ่แล้ว

Ensogo เริ่มมีข่าวประสบปัญหาด้านการเงินเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หลังมีผู้ประกอบการในมาเลเซีย ออกมาเรียกร้องว่าไม่สามารถเรียกเก็บเงินจาก Ensogo ได้ตามกำหนด และนำไปสู่การแจ้งคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ของออสเตรเลีย ขอระงับการซื้อขายหุ้นบริษัท หลังราคาตกลงเหลือเพียง 0.5 เหรียญออสเตรเลีย และปิดกิจการในวันที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา
by Chitnapa sommano