สถิติข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมการชอปปิงของชาวไทยโสด

สถิติข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมการชอปปิงของชาวไทยโสด
8
Aug

วันคนโสดเริ่มต้นขึ้นจากนักศึกษามหาวิทยาลัยนานจิง (Nanjing University) บางส่วนตัดสินใจที่จะแยกตัวออกจากความเบื่อหน่ายในการเป็นโสดของเขาในหนึ่งวัน นั่นคือ 11.11 (วันที่ 11 เดือน 11) เหตุผลที่พวกเขาเลือกวันนี้เพราะว่านัยสำคัญของเลข 1 คือความโดดเดี่ยว นั่นคือเครื่องหมายของความโสดนั่นเอง อย่างไรก็ตามการเฉลิมฉลองที่เรียบง่ายนี้กลายเป็นหนึ่งในวันชอปปิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ปรากฎว่าเหตุการณ์นี้ได้รับความสนใจอย่างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังที่กูเกิ้ล (Google) ได้กล่าวไว้ว่าวันคนโสดมีความนิยมเพิ่มขึ้นมากกว่าสามเท่าในประเทศไทยช่วงห้าปีที่ผ่านมา

ใครบ้างที่มีส่วนร่วมในวันคนโสดนี้? แล้วพฤติกรรมของผู้บริโภคในวันนั้นมีอะไรบ้าง? เพื่อพิจารณาภาพโดยกว้างของปรากฏการณ์ดังกล่าว เราได้วิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และสำรวจข้อมูลจากประชาชนเจ็ดประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งผลการวิจัยจะปรากฏในรายงานฉบับนี้

ดังนั้น ใครบ้างที่มีส่วนร่วมในวันคนโสดอย่างแท้จริง? การสำรวจชี้ให้เห็นว่าสองในสามของผู้เข้าร่วมทั้งหมดเป็นผู้ชาย ตามชื่อของเหตุการณ์ดังกล่าวผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นคนโสดเกือบร้อยละ 70 แน่นอนว่าความสนใจที่เพิ่มขึ้นคือไม่เพียงแต่คนโสดเท่านั้นที่ไปชอปปิงทางระบบ เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ อย่างสนุกสนาน อย่างไรก็ตามยังมีข้อสังเกตในกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์อีกด้วย น่าแปลกใจที่ความสนใจในวันคนโสดไปอยู่ในหมู่คนไทยที่มีอายุมากอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับวันปกติจำนวนการซื้อขายทาง เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ ในวันคนโสดของกลุ่มคนอายุระหว่าง 45-54 ปี เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 200 อย่างไรก็ตามทุกกลุ่มอายุมีความสนใจอย่างมากในเทศกาลชอปปิงนี้

วันสำหรับคนโสดที่จะทำตามความต้องการของตนเอง

ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของคนไทยไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับความนิยมในการชอปปิงของวันคนโสด แต่การซื้อก็เกิดขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อในวันนั้นร้อยละ 35 เปรียบเทียบราคาในร้านค้าที่แตกต่างกันและมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่ทำรายการก่อนชอปปิง ดูเหมือนว่าคนส่วนใหญ่ถือโอกาสในวัน 11.11 เพื่อตอบสนองความต้องการของพวกเขาแทนที่จะเป็นโอกาสในการดำเนินการตามแผนการชอปปิงที่ถูกคิดไว้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งหนึ่งซื้อสินค้าเพียงเพื่อสำหรับตัวเอง และมีแค่เพียงร้อยละ 13 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ซื้อทั้งสิ่งของสำหรับตัวเองและของขวัญสำหรับคนอื่น ๆ ในขณะที่ร้อยละ 30 ซื้อสิ่งของเฉพาะสำหรับคนอื่น ๆ เท่านั้น สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าชื่อของวันคนโสดนับเป็นวันที่ดีสำหรับการให้ของขวัญตัวคุณเอง

โดยเฉลี่ยแล้วผู้ชายซื้อสินค้าน้อยกว่าผู้หญิงซึ่งมีค่าเท่ากับ 4.4 และ 4.6 ตามลำดับ สิ่งที่พึงปรารถนาที่สุดในหมู่ผู้ชาย ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า และชุดชั้นใน ในทำนองเดียวกันผู้หญิงส่วนใหญ่ซื้อเสื้อผ้า รองเท้า และอาหารบริการส่งถึงที่

มหกรรมชอปปิงในความมืดช่วงค่ำคืน

ไม่น่าแปลกใจที่คนไทยซื้อของมากกว่าปกติในวันคนโสด ตามสถิติพื้นฐานจำนวนการซื้อขายออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งมากถึงร้อยละ 138 เมื่อเทียบกับวันปกติ การสำรวจระบุว่าโดยเฉลี่ยแล้วคนไทยจะจ่ายเงิน 3,700 บาทสำหรับการชอปปิงในวันคนโสดนี้ ยอดขายถึงจุดสูงสุดในช่วงเย็นเวลา 21.00 น.

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ร้อยละ 68 ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับชอปปิงในวันคนโสด น้อยกว่าร้อยละ 30 ของคนไทยซื้อสินค้าทาง เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ การซื้อขายส่วนใหญ่ถูกทำบนอุปกรณ์ยี่ห้อแอปเปิล (Apple) ตามมาด้วยซัมซุง (Samsung) วีโว่ (Vivo) หัวเหว่ย (Huawei) และออปโป้ (OPPO)
วันคนโสดแบบสรุป:

  • ความนิยมของวันคนโสดเพิ่มขึ้นกว่าสามเท่าตัวในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
  • 2 ใน 3 ของผู้เข้าร่วมการซื้อขายในวันคนโสดเป็นผู้ชาย
  • กลุ่มคนอายุ 45-54 ปี มีความสนใจมากที่สุดในวันคนโสด
  • โดยเฉลี่ยคนไทยคนไทยจะจ่ายเงิน 3,700 บาทในวันคนโสด
  • ยอดขายในวันคนโสดเพิ่มขึ้นร้อยละ 138 เมื่อเทียบกับวันปกติในประเทศไทย

รายงานนี้สร้างขึ้นจากข้อมูลภายในของ Picodi.com ซึ่งเป็นผู้ให้บริการส่วนลดทั่วโลกตั้งแต่ปี 2553 โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการการสำรวจนี้จากประเทศไทย 600 คน

ที่มา : www.marketingoops.com