8 Jul July 8, 2016 by atcreative in Blog, e-Commerce News รู้ๆ กันอยู่ว่า ช่วงเวลานี้คือยุคทองของเว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์และ e-Commerce ซื้อง่ายขายคล่องกันสุดๆ นี่ขนาดว่า ระบบรับชำระเงิน และระบบขนส่ง ยังเป็นอุปสรรคติดขัดอยู่บ้าง แต่ด้วยหัวใจของนักช้อปฯ ก็ไม่หวั่น ถ้าเจอของถูกใจก็พร้อมจะซื้อได้เสมอโดยปัจจุบันมูลค่าตลาด e-Commerce ในระดับภูมิภาค คิดเป็น 1% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกเท่านั้น ด้วยประชากรกว่า 600 ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ภูมิภาคนี้เป็นตลาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองแค่จีนและอินเดียเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะเห็นผู้เล่นใหม่ๆ เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้รวมถึงผู้เล่นจากประเทศอื่นจะบุกเข้ามาทำตลาด เช่น MatahariMall จากอินโดนีเซีย Lazada และ Alibaba ที่เข้าแข่งขัน ถ้าปีที่ผ่านมา คือปีแห่งการเปลี่ยนแปลงมีผู้เล่นใหม่เกิดขึ้น มีผู้เล่นเดิมๆ ที่หายไปจากตลาด และมีการปรับโฉมในหลายผู้เล่นเพื่ออยู่รอดและเติบโตในธุรกิจที่การแข่งขันสูง ลองมาดูกันว่าในปี 2016 อะไรจะเกิดขึ้น 1 Brand.comcoming to town e-Commerce ได้วิวัฒนาการจาก p2p (เช่น Kaidee.com)เป็น c2c(เช่น tarad.com, lnwshop.com)และ b2c (เช่น Lazada, itruemart) จนมาถึง Brand.com นั่นคือจะเห็นแบรนด์ต่างๆ เริ่มมีเว็บ e-Commerce ของตัวเอง ในประเทศไทยUnilever ได้เริ่มต้น e-Commerce และกำหนดเป้ารายได้ในปี 2016 ซึ่งในเว็บเองก็มีสินค้าในเครือที่หลากหลายให้เลือก เรื่องนี้ทำให้ผู้ให้บริการขนส่ง เช่น aCommerce คาดการณ์ไว้และลงทุนสร้างเครือข่ายการขนส่งทั่วทั้งเอเชียเพื่อรองรับ ซึ่งแบรนด์ขนาดใหญ่ยังมีอีก เช่น P&G หรือ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันซึ่งการทำตลาดออนไลน์แบบนี้ กระบวนการสร้างเว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ หรือ Brand.com จะทำให้แบรนด์ต่างๆ รู้ความต้องการของผู้บริโภค. 2 Omni-Channel awakens ทุกอย่างคือการขาย ในท้ายที่สุด ไม่ว่าจะ Online หรือ Offline นั่นก็คือการขายสินค้าเช่นเดียวกันดังนั้นปี 2016 จะเห็นการเคลื่อนที่ของแบรดน์ Offline ก้าวไปสู่ Online มากขึ้น โดยอาจจะเน้นช่องทาง Marketplace ต่างๆก่อนจะพัฒนาไปสู่บริการ e-Commerce เต็มรูปแบบ ขณะที่กลุ่ม b2c เช่น เซ็นทรัลกรุ๊ป จะใช้การบริหารจัดการจัดส่งสินค้า ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและได้เปรียบอยู่แล้ว มาช่วยในการส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค 3 Niche-Commerce ตลาดเฉพาะทางหนีการแข่งขัน ในตลาด b2c การแข่งขันนั้นดุเดือดเลือดพล่าน ดังนั้นใครที่สายป่านยาวกว่าก็จะสามารถอยู่รอดได้ หรือการจะอยู่รอดอาจต้องมองหาความแตกต่างเพื่อสร้างรูปแบบเฉพาะของตัวเองขึ้นมา อาจจะกำหนดแนวทางโดย ราคา, การเลือกสินค้า,, ประสบการณ์ที่ให้ลูกค้า หรือมีสินค้าที่ออกแบบ เป็นของตัวเอง ซึ่งทั้งหมดต้องการการสร้างสรรคที่มากขึ้น อาจจะเป็น Creative-Commerce ซึ่งจะช่วยให้การเจาะกลุ่มลูกค้าทำได้ง่ายขึ้น มีโอกาสที่ลูกค้าจะสมัครสมาชิกและกลับมาซื้อซ้ำ 4 e-Commerce จะก้าวข้ามขอบเขตของแต่ละประเทศ บอกเลยว่า AEC ไม่ได้มีผลอะไรกับ e-Commerce เพราะตลาดเว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์นี้ไร้พรมแดนมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว (อาจจะถูกจำกัดบ้างด้วยการขนส่ง) แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ “เส้นทางสายไหม 2.0” (Silk Road 2.0)ที่น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนe-Commerce โดยนำสินค้าจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่มาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวอย่างเช่น JD จากจีน ตั้งเป้าในการรุกตลาดอินโดนีเซียด้วยสินค้ามากกว่า 40 ล้านชิ้น Alibaba เองก็ลงทุนมหาศาลเพื่อเปิดตลาดในหลายประเทศในภูมิภาคนี้เช่นเดียวกัน 5 Payment หัวใจของการรับชำระเงิน ในอเมริกามี Paypal ที่เป็นที่รู้จักดีทั่วโลก จีนมี Alipay ที่กำลังมาแรงมากในเวลานี้ แล้วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอะไร เวลานี้มี Payment เกิดขึ้นจำนวนมาก และเป็นบริการที่ไม่ต่างกัน เช่น จากธนาคาร (SCB Up2Me)จากผู้ให้บริการโทรคม (TrueMoney, mPay) หรือจากผู้ให้บริการชำระเงินรายย่อย (2c2p, Omise) แต่ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจนั่นคือ COD หรือ Cash on Deliveryซึ่งเป็นที่นิยมในภูมิภาคนี้อยู่แล้ว (บางทีก็อยากเห็นของก่อน แล้วค่อยจ่ายเงิน) 6Fashion ยังคงมาแรงเสมอ สินค้าที่มาแรงเสมอกับช่องทาง e-Commerce คือ สินค้าแฟชั่น ถ้ามีแนวทางเป็นของตัวเอง หรือเป็นแบรนด์ที่ติดตลาดอยู่แล้ว โอกาสที่นักช้อปตัวฉกาจจะค้นหาเว็บไซต์เจอและทำการเลือกซื้อสินค้า จึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ไม่ยากไม่ว่าจะผ่านทาง Marketplace ที่มีอยู่มากมาย หรือผ่านทาง Brand.com ของตัวเอง แต่ในกลุ่มสินค้าแบรนด์ระดับพรีเมียม อาจจะไม่วางจำหน่ายผ่านทาง Marketplaceเนื่องจากต้องรักษา Brand Image ของตัวเอง ดังนั้นถ้าอยากเปิดตลาดให้กว้างไกล ก็ต้องเปิดเว็บไซต์ของตัวเอง 7 ใช้ช่องทางที่หลากหลายเพื่อโปรโมท e-Commerce สื่อที่ใช้โปรโมท e-Commerce ได้ดีและนิยมกันมากคือ Google Search และ Facebook ซึ่งสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ดี และมียอดคลิกผ่านเข้ามาสูง (แลกกับค่าคลิกที่สูงด้วยเช่นกัน)แต่ก็ยังให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการโฆษณาผ่านออฟไลน์ อย่างไรก็ตาม การบาลานซ์การใช้สื่อให้มีความหลากหลายก็มีความจำเป็นเช่นกัน เช่น เว็บเปรียบเทียบราคา, เว็บคูปองลดราคา ผสมผสานให้ดีช่วยได้เยอะ 8 เปิดศึกธุรกิจขนส่ง Logistics and Delivery การขนส่งสินค้าไปให้ถึงมือผู้บริโภค คือหัวใจสำคัญที่สุดในธุรกิจ e-Commerce ถ้าสินค้าไปส่งไม่ถึง หรือไปถึงในสภาพที่ย่ำแย่ นั่นคือหายนะของธุรกิจ และในยุคโซเชียลมีเดียด้วยแล้ว การป้องกันไว้ย่อมดีกว่ามาแก้ไขทีหลังดังนั้นคาดการณ์ว่าจะเห็นการลงทุนเพื่อสร้างเครือข่ายการส่งสินค้าและการแข่งขันที่หนักหน่วง และขอบอกว่าการส่งของให้ผู้บริโภค b2cนั้นมีเรื่องให้ปวดหัวไม่น้อย นอกจากต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่แน่นแล้ว ยังต้องมีการบริหารจัดการ การส่งของคืน, การเคลมสินค้า, คอลเซ็นเตอร์,การบริหารสายส่ง และการจ่ายเงิน Cash on Delivery 9 Programmatic อนาคตที่กำลังมาถึงของ Programmatic ถูกมองว่าเป็นอนาคตของ digital marketing ช่วยให้การเลือกช่องทางโฆษณาของ Brand เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่สำหรับ e-Commerce การเกิดขึ้นและมี Marketplace เป็นจำนวนมากสิ่งที่ท้าทายสำหรับ Brand คือการเลือกช่องทางที่จะนำเสนอสินค้าและบริการที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ Brand ผสานช่องทางการขายต่างๆ เข้าด้วยกันได้ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย และปรับแต่งธุรกิจและการบริการได้ดีขึ้น 10 สงครามเงินเดือนของพนักงาน ความต้องการพนักงานด้าน e-Commerce เติบโตตามขนาดธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น ทำให้บุคลากรเป็นที่ต้องการสูง และมีเงินเดือนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีพนักงานจำนวนไม่น้อยที่ยังเด็ก ขาดประสบการณ์และทักษะที่จำเป็นขาดความเป็นผู้นำ แต่ได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งสำคัญของบริษัท แต่ต้องไม่ลืมว่า e-Commerce เป็นธุรกิจในระยะยาว ที่สร้างการรับรู้ สร้างความน่าเชื่อถือ สร้างฐานลูกค้า ขณะที่การจะสร้างทีมงาน ที่มีพนักงานที่เก่ง ไม่ใช่แค่เรื่องของเงินเดือน แต่ต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กร สร้างบรรยากาศในการทำงาน แต่ทั้งหมดก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย