10 เรื่องออนไลน์! คนไทยไม่ตกเทรนด์ ‘ที่พัก-อาหาร’ ฮิตระเบิดระเบ้อ

10 เรื่องออนไลน์! คนไทยไม่ตกเทรนด์ ‘ที่พัก-อาหาร’ ฮิตระเบิดระเบ้อ
19
Sep

เผยมูลค่าตลาดทําเว็บ e-commerceของไทยในปี 2557 เติบโตอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 2,033,493.4 ล้านบาท พร้อมคาดการณ์มูลค่าในปี 2558 อาจสูงถึง 2.1 ล้านล้านบาท…

เพราะเทรนด์การช็อปปิ้งเว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์นั้นยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับประเทศไทย…ยังไม่เคยมีการสรุปตัวเลขด้านมูลค่าตลาดธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อี-คอมเมิร์ซ) ภายใต้สถิติที่เป็นทางการมาก่อน

เรื่องนี้ นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. (ETDA) เปิดเผยว่า มูลค่าตลาดทำเว็บไซต์ e-commerceของประเทศไทยในปี 2557 มีมูลค่ารวม 2,033,493.4 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าอี-คอมเมิร์ซในปี 2556 อยู่ที่ 768,014 ล้านบาท ส่วนจำนวนผู้ประกอบการมีจำนวนทั้งสิ้น 502,676 ราย โดย สพธอ. ได้ทำการสำรวจมูลค่าอี-คอมเมิร์ซจากกลุ่มตัวอย่างของผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซทั่วประเทศ ซึ่งจัดเก็บข้อมูลในช่วงเดือน เม.ย.-ต.ค.2558 เพื่อเข้าถึงมูลค่าการซื้อขายจากผู้ประกอบการประเภทต่างๆ

ช้อปออนไลน์ เทรนด์ฮิตของผู้บริโภคยุคออนไลน์

ทั้งนี้ ไทยรัฐออนไลน์ ได้สรุปตัวเลขต่างๆ เป็นจำนวน 10 ข้อ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ดังนี้…

1. จากมูลค่าธุรกิจทำเว็บไซต์ e-commerceกว่า 2,033,493 ล้านบาท สามารถแบ่งเป็นมูลค่าจาก 3 กลุ่มผู้ประกอบการ คือ ผู้ประกอบการบีทูบี 1,234,226.18 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 60.69% , ผู้ประกอบการบีทูซี 411,715.41 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 20.25% และผู้ประกอบการบีทูจี 387,551.76 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 19.06%

2. กลุ่มอุตสาหกรรมที่มูลที่ทำเว็บไซต์ e-commerceสูงสุด 3 อันดับแรกของปี 2557 คือ การให้บริการที่พัก 630,159.13 ล้านบาท การผลิต 440,614.78 ล้านบาท และ ข้อมูลข่าวสาร-การสื่อสาร อีก 264,863.87 ล้านบาท จากการแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม คือ…การผลิต, การค้าปลีกและการค้าส่ง, การขนส่ง, การให้บริการที่พัก, ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร,​ การประกันภัย, ศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ, กิจการบริการด้านอื่นๆ

3. หากเปรียบเทียบมูลค่าอี-คอมเมิร์ซในกลุ่มธุรกิจบีทูซี ของปี 2557 ระหว่างไทยและประเทศอื่น จะพบว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีมูลค่าตลาดดังกล่าวสูงสุด (359.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) , จีน (322.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) , ญี่ปุ่น (118.59 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) และเกาหลีใต้ (25.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ขณะที่ไทยอยู่ในอันดับที่ 5 (11.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)

4. ส่วนแนวโน้มมูลค่าอี-คอมเมิร์ซของไทยในปี 2558 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 3.65% หรือมีมูลค่าประมาณ 2,107,692.88 ล้านบาท โดยมูลค่าตลาดบีทูซีและบีทูจียังคงมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สมาร์ทดีไวซ์ ช่วยให้การซื้อ-ขาย สะดวกยิ่งขึ้น

5. โดยอุตสาหกรรมที่มีการคาดการณ์ในปี 2558 ที่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อุตสาหกรรมการให้บริการที่พักและอาหาร ประมาณ 658,909.76 ล้านบาท อุตสาหกรรมการผลิต 350,286.83 ล้านบาท และ อุตสาหกรรมค้าปลีกและค้าส่ง 325,077.48 ล้านบาท

6. ในปี 2557 มีจำนวนผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซ ที่ใช้ช่องทางออนไลน์ในการทำธุรกิจประมาณ 78.36% และกลุ่มที่ใช้ช่องทางออนไลน์และมีหน้าร้าน ราว 21.64%

7. แม้ว่าก่อนหน้านี้ ผลสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตระบุว่าผู้บริโภคมีความกังวลในการใช้จ่ายออนไลน์ แต่จากการสำรวจมูลค่าตลาดอี-คอมเมิร์ซ กลับพบว่าผู้บริโภคนิยมใช้บริการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก อาทิ การชำระเงินผ่านบัตรเครดิต , ระบบอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง, โมบายล์ เพย์เมนต์ เป็นต้น

8. ช่องทางการชำระเงินแบบออนไลน์ที่มีผู้นิยมใช้งานสูงสุดคือ อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง ด้วยสัดส่วนกว่า 54.25% รองลงมา คือ บัตรเครดิต/เดบิต 22.39% โมบายล์ เพย์เมนต์ 14.53% และอื่นๆ 8.83%

9. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการอี-คอมเมิร์ซ ของผู้ประกอบการชาวไทย คือ การขาดผู้มีทักษะด้านอี-คอมเมิร์ซ ในขณะที่การเติบโตนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว, ต้นทุนด้านการขนส่งที่ค่อนข้างสูง ในการคมนาคมขนส่งสินค้า, ค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยี ที่ผู้ประกอบการต้องลงทุนทั้งด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ อาทิ โครงสร้างภาษี การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ความมั่นใจในการซื้อขายออนไลน์ และความผันผวนของเศรษฐกิจโลกอีกด้วย

แค่เลือกแล้วใส่ลงตระกร้า และรอรับสินค้าอยู่ที่บ้าน

10. อย่างไรก็ตาม การมาของเทคโนโลยี 4จี และการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้ช่องทางออนไลน์เพื่อเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ รวมถึงการสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจในการใช้งานอี-คอมเมิร์ซ ล้วนเป็นปัจจัยที่สามารถสนับสนุนการใช้งานอี-คอมเมิร์ซทั้งสิ้น

ผู้อำนวยการ สพธอ. กล่าวอีกว่า การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในอนาคตอันใกล้ รวมถึงการเพิ่มการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ จะส่งผลให้ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซมีแนวโน้มการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่จะขยายช่องทางการค้าสู่รูปแบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ขณะเดียวกันก็เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคให้มีทางเลือกซื้อสินค้าได้อย่างสะดวกสบาย นอกจากนี้ยังอาจเรียกการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศให้เข้าสู่ตลาดอี-คอมเมิร์ซไทยมากขึ้น ส่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ประเทศอีกด้วย.

ที่มา.https://www.thairath.co.th