17 Jul July 17, 2019 by atcreative in Blog, e-Commerce News จากไลฟ์สไตล์แบบดิจิทัลของผู้บริโภคซื้อขายสินค้า เว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ ยุคนี้ ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวตามไปอยู่บนแพลทฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อรักษาและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ยิ่งผลักดันให้การซื้อขายสินค้าและบริการ บนโลกออนไลน์คึกคักขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงทำให้การ ทำเว็บไซต์ ขายของ มีมูลค่าตลาดในปีที่ผ่านมา ซึ่งคาดการณ์ว่าอาจสูงถึง 3.2 ล้านล้านบาท ยิ่งสะท้อนความสำเร็จและทิศทางต่าง ๆ ในตลาด e-Commerce ไทย ได้อย่างน่าสนใจ คุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) อธิบายว่า ผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศเติบโตราว 8-10% ต่อปี โดย ETDA ได้จัดเก็บสถิติมาตั้งแต่ปี 2557 และเมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าจากจำนวนเพียง 9.3 ล้านคน ในปี 2551 ปัจจุบันมีผู้ใช้มากถึง 45 ล้านคน สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย การพัฒนาของเครื่องมือสื่อสาร และราคาที่ถูกลงทำให้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น ส่งผลให้ตลาด e-Commerce ของประเทศไทยเติบโตไปด้วย ทั้งจำนวนผู้ซื้อ ผู้ขายทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น สอดรับกับจำนวนแพลตฟอร์มโดยผู้ประกอบการในไทยและต่างประเทศเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเช่นกัน “การเติบโตของ B2C ในประเทศไทยสูงเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน เมื่อเทียบมูลค่าระหว่างปี 2559 กับปี 2560 พบว่า มีมูลค่าเพิ่มกว่า 1.6 แสนล้านบาท จากความเชื่อมั่นในระบบ e-Payment ที่สะดวกขึ้น การขนส่งที่รวดเร็วทำให้ผู้บริโภคหันมาให้ความนิยมซื้อของออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธุรกิจห้างสรรพสินค้าออนไลน์เติบโตจากโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจลูกค้า รวมถึงความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นในแหล่งขายที่มีตัวตน” นอกจากนี้ ธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และอาหารเสริม ก็กำลังเติบโตด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมอาหารและรักสุขภาพมากขึ้น มีการกระตุ้นความต้องการซื้อผ่านทาง Influencer ตลอดจน YouTuber ซึ่งเติบโตจากการทำการตลาดออนไลน์การรับทำเว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ในปี 2560 ถึง 69.92% โดย Facebook กลายเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับแรก ผ่านรูปแบบ BoostPost และ BoostAds เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าตามเป้าหมาย Big Data- AI ถูกนำมาใช้กับ e-Commerce ด้านผู้ใช้บริการก็ได้มีการนำ Big Data มาพัฒนาธุรกิจ e-Commerce โดยนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อนำเสนอสินค้าใหม่ (100%) เพื่อให้ตรงความต้องการ ตลอดจนเพื่อการวางแผนด้านการตลาดมากถึง (92.85%) และใช้วิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อม เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การจำหน่ายสินค้าที่ (85.71%) ขณะที่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ถูกนำมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ โดยอันดับ 1 จะใช้ในการให้บริการ เช่น Chatbot เพื่อให้ข้อมูลกับลูกค้าได้รวดเร็ว และ CRM (69.23%) อันดับ 2 ใช้ในด้านอื่น อาทิ Claim Analytics, Underwriting (23.07%) และใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค รวมทั้งใช้เพื่อการตัดสินใจในเชิงการบริหาร ด้วยสัดส่วนที่เท่ากัน (15.38%) 5G เข้ามาซัพพอร์ท Digital Lifestyle คนไทย ส่วนทิศทางการเข้าสู่ยุค 5G ของคนไทย ทำให้เกิดนวัตกรรมสนับสนุนคุณภาพชีวิต อาทิ การใช้โดรนขนส่งและตรวจตราความปลอดภัย วิดีโอสตรีมมิ่งและถ่ายทอดสดแบบ 360 องศา โลกเสมือนจริงแบบสามมิติเพื่อการเรียนรู้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะขับเคลื่อน e-Commerce ไทยให้ไปต่อ “สถิติในปี 2560 ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 45 ล้านคน โดยในปี 2561 มีจำนวน Mobile Subscriber กว่า 124.8 ล้านราย ผู้ใช้งาน LINE ราว 44 ล้านคน และผู้ใช้ Facebook กว่า 52 ล้านราย ขณะที่ แนวโน้มมูลค่า e-Commerce ของไทยในปี 2561 อาจสูงถึง 3.2 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะช่วงเทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์ เช่น 11.11, 12.12,Black Friday ที่ผู้ประกอบการ e-Commerce ต่างจัดโปรโมชั่น ซึ่งทำให้บางผู้ประกอบการมียอดขายสูงถึง 1.44 พันล้านบาท ด้วยปริมาณการสั่งชื่อสินค้ากว่า 1.7 ล้านชิ้น ในระยะ 3 วัน โดยกลุ่มสินค้าที่นิยม ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภคของเด็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า สมาร์ทโฟน เครื่องสำอาง สกินแคร์ ส่วนการซื้อผ่าน Social Commerce ก็มาแรง คนไทยเลือกซื้อสินค้ามาก รองจาก e-Marketplace เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่ซื้อง่ายขายคล่อง ทั้งยังลดช่องว่างระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย และเพิ่มอำนาจการต่อรองของลูกค้า ทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกมากขึ้น” นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญอย่างโลจิสติกส์ก็ส่งเสริมให้ e-Commerce เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการพัฒนาไปตามความต้องการของลูกค้า มีระบบการติดตาม (Tracking) ตรวจสอบสถานะการส่งที่แม่นยำ ทำให้เกิดความมั่นใจในการสั่งซื้อ ด้านผู้ให้บริการโลจิสติกส์ภาคเอกชนก็มีตัวเลือกหลากหลาย ระบบบริการที่มีการ รับทำ online shop ที่มีการแข่งขันสูงทำให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ เพราะครอบคลุมพื้นที่ให้บริการทางระบบ เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ มากขึ้น ไม่ได้กระจุกตัวในเมืองใหญ่เท่านั้น โอกาสทอง e-Commerce ไทย เติบโตในเวียดนาม – อินโดนีเซีย – อินเดีย – จีน หากต้องการผลักให้ e-Commerce ไทยบุกตลาดต่างประเทศก็สามารถทำได้ เพราะนอกจากประเทศไทยจะมีจุดแข็งเป็นเมืองน่าเที่ยวติดอันดับ 4 ของโลก และสินค้าไทยก็เป็นที่ชื่นชอบของหลายประเทศ อาทิ เวียดนาม ที่ชอบสินค้าอุปโภคบริโภคของไทย เครื่องสำอาง และสินค้าเกี่ยวกับเด็ก, อินโดนีเซีย ชอบอาหารทานเล่นของไทยมาก, อินเดีย ชอบสินค้าเครื่องปรุงรสอาหารไทย เครื่องสำอาง และ จีน ที่ชื่นชอบเครื่องสำอาง สมุนไพร เสื้อผ้าและกระเป๋า โดยจุดแข็งของสินค้าไทยสามารถสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการ e-Commerce ด้วยเอกลักษณ์และจุดเด่นที่ไม่มีใครเหมือน ปั้น “ยังทะเล้น” เฟ้นแรงงานตอบโจทย์ตลาด e-Commerce เพื่อต่อยอดมูลค่าตลาดให้เติบโตยิ่งขึ้น ETDA จึงร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ร่วมสนับสนุนการพัฒนาให้เป็น Silicon Valley ด้าน e-Commerce ของไทย ผ่าน Young talent platform “ยังทะเล้น” แพลทฟอร์ม เพื่อสร้าง Workforce สนับสนุนผู้ประกอบการ e-Commerce ของไทยด้านต่าง ๆ ที่จะร่วมเป็นหนึ่งในการพัฒนาผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดโลกต่อไป ที่มา : https://www.marketingoops.com