ถอดรหัสปาฐกถา Jack Ma พูดอะไรมาตลอด 7 ปี

ถอดรหัสปาฐกถา Jack Ma พูดอะไรมาตลอด 7 ปี
18
Oct

การเกษียณอายุอย่างเป็นทางการของพญามังกรแห่งโลกการทำเว็บไซต์ e-commerceจีน อย่าง ‘แจ็ค หม่า’ (Jack Ma) ผู้ก่อตั้งอาณาจักร Alibaba กลายเป็นข่าวใหญ่ระดับโลกที่สื่อทุกสำนักให้ความสนใจ

มองเผินๆ หลายคนอาจคิดว่าอดีตครูสอนภาษาอังกฤษคนนี้ไม่ได้พิเศษไปกว่ามหาเศรษฐีทั่วไป แค่ทำธุรกิจและมีเงินระดับล้านๆ ก็เท่านั้น แต่หากนำมหาเศรษฐีด้านดิจิทัลเรียงแถวหน้ากระดาน ทั้ง Mark Zuckerberg, Elon Musk, Bill Gates, Steve Jobs และอื่นๆ หน้าของแจ็ค หม่า คงโดดเด่นออกมาก่อนเพื่อนเพราะเขาคือฮีโร่ดิจิทัลคนเดียวที่เป็นเอเชีย ทั้งยังมีบุคลิกถึงลูกถึงคน และเป็นคนยุค Generation X ค่อนไปทาง Babyboomer เพียงไม่กี่คน!

ปฎิเสธไม่ได้ว่าความสามารถในการกล่าวปาฐกถาของแจ็ค หม่า ถือเป็นหนึ่งในใต้หล้าและเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ Alibaba และทัพนักธุรกิจจีนบุกตลาดโลกเว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์สำเร็จ โอกาสพญามังกรย้อนกลับถ้ำครั้งนี้เราเลยอยากพาคุณๆ กลับมาทบทวนปาฐกถาของเขาว่ามีความหมายอะไรซ่อนอยู่ และมันส่งผลต่อโลกธุรกิจดิจิทัลอย่างไรบ้าง

วาทกรรมใต้ลิ้นพญามังกร

ส่วนหนึ่งจากงานวิจัยของ Nipapat Pomat และ Suban Keowkanya เรื่อง “Critical Discourse Analysis of Jack Ma’s Selected Speeches: Language of New Capitalism” ชี้ให้เราเห็นว่าการปาฐกถาจำนวน 12 ครั้งระหว่างปี 2011-2018 ของ Jack Ma นั้นเกิดขึ้นในช่วงที่ Alibaba เริ่มโด่งดังขึ้นเรื่อยๆ และสร้างวาทกรรมให้ชาวโลกมองธุรกิจดิจิทัลในมุมใหม่ อาจแบ่งวาทกรรมนี้ออกได้เป็น 3 ประเด็นดังนี้

เทคโนโลยีและนวัตกรรม

“คนที่เกิดปี 1980 เป็นต้นมาสร้างธุรกิจได้ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม อย่างทุกวันนี้เราใช้โทรศัพท์มือถือ ไม่ใช่คอมพิวเตอร์อีกต่อไปแล้ว พวกเขาสร้างธุรกิจได้ตอนนี้และทันทีด้วยมือถือ“

แจ็ค หม่า เน้นเสมอว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ จะช่วยสร้างผลกำไรและช่วยเหลือธุรกิจเล็กๆ ดังนั้นหากเทคโนโลยีไม่พัฒนา ประชาชนจะเดือดร้อน และลามไปถึงเศรษฐกิจของประเทศก็จะไม่เติบโต

เขตการค้าเสรี

“ผมสนับสนุนเรื่องการค้าเสรีอย่างยิ่ง“

แจ็ค หม่า สนับสนุนเรื่องเขตการค้าเสรีอย่างยิ่งโดยอ้างว่าธุรกิจทำเว็บไซต์ e-commerceที่สามารถไปได้ทุกที่บนโลกนั้นสร้างโอกาสให้แก่ SMEs เพื่อให้พวกเขาสามารถขายของให้กับใครก็ได้บนโลกนี้ ไม่เฉพาะแต่ในประเทศตัวเองเท่านั้น เขายังสนับสนุนให้รัฐบาลของแต่ล่ะประเทศลดข้อจำกัดทางการค้าลงอีก

กำไรเป็นตัวตั้ง

“Alibaba ก็เหมือนคาถาที่ทำให้คุณเปิดกรุสมบัติบนโลกทําเว็บขายของออนไลน์นั้นแหละ“

กำไรเป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจต้องการและนี่คือสิ่งที่ แจ็ค หม่า พูดถึงมากที่สุดในการปาฐกถาทุกครั้ง เขาพูดเสมอว่า Alibaba ช่วยให้ธุรกิจ SMEs ประสบความสำเร็จ ทำกำไรสูงสุดได้จากการลงทุนต่ำสุด

แล้วมันจริงแค่ไหน?

อ่านถึงตรงนี้คงรู้สึกเคลิ้มๆ กับคำพูดของแจ็ค หม่า ล่ะสิ ช้าก่อนครับ เพราะเมื่อเราเอาคำพูดของเขามาทาบทับกับความเป็นจริงก็จะพบว่า แหม่…มันช่างไม่ตรงกับความเป็นจริงเอาซะเลย

ง่ายที่สุดคือไม่ว่าธุรกิจดิจิทัลจะก้าวไกลมากแค่ไหนแต่ SMEs ก็ไม่ได้แข่งขันดีขึ้นหรอก เพราะนอกจากเทคโนโลยีแล้ว บริษัทยังต้องการสิ่งอื่นอีกมากมายเพื่อประสบความสำเร็จ เช่น แผนการตลาด หน่วยวิเคราะห์ธุรกิจ หรือทุนมหาศาล ซึ่งสุดท้ายบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีเงินหนากล้าจ้างผู้เชี่ยวชาญค่าตัวแพงก็จะใช้ทําเว็บขายของเอาเปรียบ SMEs อยู่ดี และแม้แต่ตัวแจ็ค หม่า เองก็ยังเผลดหลุดความจริงข้อนี้ออกมาในการปาฐกถาครั้งหนึ่ง

“บริษัทที่รวยอยู่แล้วก็จะยิ่งรวย ยิ่งใหญ่ และใหญ่ขึ้น ขณะที่บริษัทเล็ก ประเทศเล็ก และ SMEs จะมีปัญหา”

ยิ่งกว่านั้น เมื่อผู้บริโภคสามารถเข้าถึงทุกสินค้าและบริการบนโลกดิจิทัล พวกเขาก็จะเลือกแต่ของดี ราคาถูก จัดส่งเร็ว ซึ่งบริษัทใหญ่ๆ ได้เปรียบในข้อนี้ทั้งหมดเพราะต้นทุนถูกและมีกระบวนการจัดการที่รวดเร็วอยู่แล้ว สุดท้ายผู้บริโภคก็จะเลือกแบรนด์ใหญ่ๆ อยู่ดี

สุดท้าย ตัวธุรกิจของ Alibaba และแบรนด์ในเครือเองนั่นแหละที่ฆ่า SMEs จีนมาแล้วหลายราย เช่น ธุรกิจโชห่วย ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจจัดซื้อ และ ฯลฯ ซึ่งธุรกิจส่วนใหญ่ที่ตายไปเป็นของรุนอาม่าอากงที่ปรับตัวตามเทคโนโลยีไม่ทัน ส่วน SMEs รุ่นใหม่ที่เข้ามาใช่แฟลตฟอร์มของ Alibaba ก็ต้องติดกับแฟลตฟอร์มนี้ตลอด ไปไหนไม่ได้ พูดได้ว่า Alibaba อาจเป็นการผูกขาด (Monopoly) โดยเอกชนเจ้าใหญ่ที่สุดในแผ่นดินจีน

ทุกคำพูดมีผลประโยชน์แอบแฝง

อย่างที่วิเคราะห์มาเห็นได้ว่าแม้ปากจะพูดว่า “ช่วย SMEs” แต่สุดท้ายแจ็ค หม่า ก็ยังไม่พ้นทำเพื่อผลประโยชน์ของ Alibaba อยู่ดี ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะ Alibaba เป็นองค์กรธุรกิจ และธุรกิจก็ต้องหากำไรเป็นอันดับแรก สิ่งที่เราต้องระวังคืออย่าไปอินกับคำคม แนวคิด หรือคำสอนของมหาเศรษฐีเหล่านี้มาก

ที่มา.https://www.thumbsup.in.th