เริ่มต้นการจัดทำเว็บไซต์ E-Commerce

8
Jun

การเขียนแผนธุรกิจ

แผนธุรกิจ เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะก่อตั้งกิจการ แผนนี้เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณา และการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจแผนธุรกิจเปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทางที่จะช่วยชี้แนะขั้นตอนต่าง ๆ ทีละขั้นตอนในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่าง ๆ ทั้งในเรื่องการตลาด การแข่งขัน กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จ หรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควรระวัง

แผนธุรกิจที่ดีประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้

1. สินค้าหรือบริการที่จะขาย
2. กลุ่มลูกค้าที่คาดหวัง
3. จุดแข็งและจุดอ่อนของกิจการที่จะทำ
4. นโยบายการตลาด
5. วิธีการหรือกระบวนการในการผลิต รวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ต้องใช้
6. ตัวเลขทางการเงิน นับตั้งแต่รายได้ที่คาดว่าจะได้ ค่าใช้จ่าย กำไร ขาดทุน จำนวนเงินลงทุนที่ต้องการ และกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้มาหรือใช้ไป

แผนธุรกิจที่ดี เมื่ออ่านแล้วจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ได้
1.   การก่อตั้งธุรกิจเป็นรูปร่างชัดเจนขนาดไหน เสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยัง
2.   ธุรกิจนี้น่าลงทุนหรือไม่
3.   ธุรกิจมีแนวโน้มหรือโอกาสที่จะประสบความสำเร็จตั้งแต่เมื่อแรกตั้งมากน้อยขนาดไหน
4.   ธุรกิจนี้มีความได้เปรียบหรือความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวมากน้อยเพียงใด
5.   สินค้าที่จะผลิตมีวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพเพียงใด้
6.   สินค้าที่ผลิตสามารถวางตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด
7.   วิธีการผลิตและการวางตลาดสินค้านั้น มีทางเลือกอื่น ๆ ที่ประหยัดได้มากกว่าหรือไม่
8.   หน้าที่ต่าง ๆ เช่น การผลิต การจำหน่าย การจัดการทางการเงิน การจัดการคน มีการจัดการที่ดีและเหมาะสมเพียงใด จำนวนและคุณภาพของพนักงานที่ต้องการมีเพียงพอหรือไม่

การจดโดเมนทำเว็บไซต์ e-commerce

olddomian

โดเมนเนม ก็คือ ชื่อของเว็บ (Web address) ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเข้ามาที่เว็บไซต์ของ google คุณกำลังเรียกดูข้อมูลที่ตั้งอยู่ที่www.google.com. ซึ่ง ‘google.com’ คือ โดเมนเนม ่

ดังนั้นการที่จะเลือกหรือตัดสินใจว่า ควรจะเป็นเจ้าของโดเมนเนมสักชื่อได้แล้วหรือยัง ควรจะพิจารณาจากเหตุผลหลักๆ ประมาณ 5 ข้อนี้

ข้อที่ 1. เพิ่มความน่าเชื่อถือ…ให้กับเว็บ
ข้อที่ 2. ง่ายแก่การจดจำและเข้าถึงเว็บ
ข้อที่ 3. สร้างความมั่นใจให้กับบุคคลทั่วไป
ข้อที่ 4. ป้องกันความผิดพลาดจากการส่งอีเมล์
ข้อที่ 5. เปลี่ยนบริษัทผู้ให้บริการเช่าพื้นที่ (Web Hosting) ได้ง่าย

เมื่อนับข้อดีได้ 5 ข้อแล้ว ก็ตกลงใจมีโดเมนเนมเป็นของตัวเองได้แล้ว จ่ายแพงกว่านิดหน่อยก็คุ้มค่า แถมยังหมดห่วงกับปัญหาที่จะตามมาในภายหลังอีกด้วย

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการจดชื่อโดเมน

http://thainame.cat.net.th/
http://www.thnic.net/
http://www.serverinter.com

การจัดทำเว็บไซต์ e-commerce  

การออกแบบเว็บที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับเป้าหมายว่าเราต้องการขายอะไร ไม่จำเป็นต้องใช้กราฟฟิกที่เริดหรูเพียงแต่เน้นการเสนอคุณสมบัติของสินค้าของเรานั้นให้ตรงตามลักษณะของสินค้านั้น ๆ เช่น เรายังขายอัญมณีมุกน้ำเค็มสินค้าเดิม สิ่งที่ลูกค้าต้องการคือ รูปแบบแต่ละแบบที่เห็นและความเด่นชัดของสินค้า รูปภาพที่แสดงให้ลูกค้าดูนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งสิ่งที่สำคัญในการโหลดข้อมูลไม่ควรจะช้ามากจนเกินไปเพราะจำทำให้ไม่ดึงดูดความสนใจได้ ควรออกแบบเว็บไซต์ให้เป็นกันเองกับผู้เยี่ยมชมก็ควรมีสิ่งที่เกี่ยวกับสังคมอินเทอร์เน็ตบ้าง เพื่อไม่เป็นการมุ่งแต่การขายอย่างเดียวการสร้าง Catalog ในการออกแบบสินค้าเพื่อให้ลูกค้า ค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและ มีเงื่อนไขที่หลายรูปแบบ

การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับการทำเว็บไซต์ e-commerce  

การจัดทำเว็บไซต์ e-commerce   ผู้จัดทำต้องสร้างความน่าเชื่อถือทางธุรกิจให้เกิดขึ้น โดยมีหลักการดังต่อไปนี้

1. การจัดทำนโยบายการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)
นโยบายการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) มุ่งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือการทำธุรกรรมต่างๆของบุคคลเท่านั้น ไม่ได้เป็นนโยบายที่มุ่งคุ้มครองความเป็นส่วนตัวทุกอย่างในชีวิตประจำวัน  รายละเอียดเพิ่มเติม

2. เครื่องหมายแสดงความน่าเชื่อถือ (Trustmark)
Trustmark คือสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่แสดงไว้เพื่อประกาศให้ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ทราบว่าเว็บไซต์ของผู้ประกอบธุรกิจนั้นได้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติหรือคุณลักษณะต่างๆตามมาตรฐานที่มีการกำหนดโดยองค์กรนั้นๆแล้ว รายละเอียดเพิ่มเติม

การทำเว็บไซต์ e-commerce  อย่างไรให้น่าเชื่อถือสำหรับผู้บริโภค

ระบบการชำระเงิน (Payment System)

ขั้นตอนที่สำคัญสำหรับทั้งฝั่งผู้ขายและผู้ซื้อสินค้า ในเรื่องการชำระเงินควรมีวิธีการให้ลูกค้าสามารถใช้บริการให้มากที่สุดที่สะดวกกับทั้งทางผู้ค้าและลูกค้า เพราะในบางครั้งลูกค้าต้องการสินค้าของเราแล้ว แต่ไม่สะดวกในเรื่องการชำระเงินก็ไม่ซื้อของจากเราก็ได้ ในการพิจารณาเรื่องวิธีการชำระเงินนั้นให้พิจารณาถึงกลุ่มลูกค้าว่าเป็นใคร เช่นเป็นลูกค้าภายในประเทศ กลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน หรือกลุ่มที่อยู่ต่างจังหวัด วิธีที่สะดวกจะมีให้เลือกหลายวิธีทั้งธนาณัติ การโอนเงินทางธนาคาร โอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต

ขั้นตอนการชำระเครดิตการ์ดผ่านอินเทอร์เนต

องค์ประกอบในการชำระเงิน 1.ลูกค้า(Customer) 2.ร้านค้า(Merchant) 3.ธนาคารที่ร้านค้าเปิดบัญชีไว้ (Acquiring Bank) 4.ธนาคารผู้ออกบัตร (Issuing Bank)

เมื่อลูกค้าใส่ข้อมูลบัตรเครดิตและกดปุ่ม “ตกลง/ส่ง” ข้อมูลในส่วนของคำสั่งซื้อจะถูกส่งไปยังร้านค้า(1) ส่วนข้อมูลของบัตรเครดิตจะถูกส่งไปที่ระบบการชำระเงินของธนาคารที่ร้านค้าสมัครใช้บริการไว้(2) และถูกส่งต่อไปยังธนาคารผู้ออกบัตรเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของบัตรว่ามีวงเงินให้ใช้งานได้หรือไม่ บัตรหมดอายุหรือยัง (3)[แต่ในที่นี้ไม่ได้ตรวจสอบว่าผู้ใช้บัตรนั้นเป็นเจ้าของจริงหรือเปล่า] ถ้าบัตรยังใช้งานได้ก็จะตอบกลับมายังร้านค้าและลูกค้าว่าสามารถทำการชำระเงินในวงเงินดังกล่าวได้
(4-6) หลังจากนั้นลูกค้าต้องกดปุ่มตกลงเป็นลำดับสุดท้ายเพื่อยืนยันคำสั่งซื้อและชำระเงิน เมื่อร้านค้าได้รับการแจ้งการชำระเงินก็จะจัดส่งสินค้าต่อไป(7) และลูกค้าก็ชำระเงินที่ใช้ไปตามรอบบัตรเครดิตปกติ

ระบบการจัดส่งสินค้า

สินค้าจะมี 2 รูปแบบคือ สินค้าที่จับต้องได้(Tangible Goods) และสินค้าที่จับต้องไม่ได้(Intangible Goods) ดังนั้นการจัดส่งจึงมี 2 รูปแบบคือสินค้าที่จับต้องได้ เช่นการส่งพัสดุตามปกติ ส่ง EMS ส่งผ่านผู้ให้บริการรับส่งสินค้า(Courier) เช่นเดียวกันต้องมีให้เลือกทั้งแบบส่งปกติ ส่งด่วน ส่งด่วนพิเศษ ตามความต้องการของลูกค้า ส่วนสินค้าที่จับต้องไม่ได้นั้นการจัดส่งจะทำการส่งผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้เลย เช่นดาวน์โหลดเพลง ซื้อข้อมูล การเป็นสมาชิกดูข้อมูลของเว็บไซต์ต่างๆ เป็นต้น

012_531582

ท่านใดที่สนใจธุรกิจร้านค้าออนไลน์เรายินดีให้บริการ รับทำเว็บไซต์ขายของออนไลน์

ที่มา : http://www.thaiecommerce.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538636822&Ntype=6