‘ETDA’ เผยราคาหลักหมื่น ทำคนไทยกล้าชอปมากขึ้น หนุนอีคอมเมิร์ซโต!! ปี 62 คาดมีมูลค่าแตะ3.2ล้านล้านบาท

‘ETDA’ เผยราคาหลักหมื่น ทำคนไทยกล้าชอปมากขึ้น หนุนอีคอมเมิร์ซโต!! ปี 62 คาดมีมูลค่าแตะ3.2ล้านล้านบาท
18
Jul

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA ได้ออกมาเผยว่า ปัจจุบันคนไทยมีความมั่นใจในการซื้อขายออนไลน์หรือการทำเว็บไซต์ ขายของมากขึ้น โดยตอนนี้สินค้าราคาหลักหมื่นก็กล้าตัดสินใจซื้อ จากเดิมราคาซื้อสูงสุดจะอยู่ที่ 2,000- 4,000 บาทต่อชิ้น และถือเป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยมีแนวโน้มโตอย่างต่อเนื่อง

สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ ETDA เปิดเผยถึงมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยว่า ในปี 2560 มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 2.81 ล้านล้านบาท เพิ่มเป็น 3 ล้านล้านบาทในปี 2561 ส่วนในปี 2562 คาดว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยจะโตขึ้น 12-13% มีมูลค่าตลาด 3.2 ล้านล้านบาท

ส่วนปัจจัยที่ทำให้การเปิด ทำเว็บไซต์ ecommerce เติบโตมาจากความนิยมและความมั่นใจของผู้บริโภคที่มีต่อการชอปปิ้ง ออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น เห็นชัดจากความถี่ในการสั่งซื้อ รวมไปถึงราคาสินค้าที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อทางออนไลน์สูงขึ้น โดยตอนนี้มีราคาอยู่ในหลักหมื่นบาท จากช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ราคาสินค้าที่ซื้อสูงสุดอยู่ประมาณ 2,000-4,000 บาทต่อชิ้น

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่มีการซื้อขายทางออนไลน์สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่  กลุ่มแฟชั่น รองลงมา คือ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และดิจิทัล คอนเทนท์ต่าง ๆ อาทิ หนัง เพลง เกม ฯลฯ

“เราจะเห็นว่า สินค้าที่มีราคาสูงอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีราคาระดับหลักหมื่น คนไทยก็กล้าตัดสินใจซื้อทางออนไลน์ สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจที่มากขึ้นในการซื้อของในช่องทางนี้ แต่การตัดสินใจเขาจะเลือกซื้อจากเจ้าประจำที่เคยใช้บริการมาก่อน”

นอกจากนี้ ด้วยเทรนด์ธุรกิจการทำ เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ ที่เปลี่ยนแปลง โดยปัจจุบันทุกผู้ประกอบการในหลากหลายธุรกิจ หันให้ความสำคัญกับด้านออนไลน์และอีคอมมิร์ซเป็นลำดับต้น ๆ เพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ รวมถึงการรุกอย่างหนักของผู้ประกอบอีคอมเมิร์ซต่างชาติในตลาดไทย ก็นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ซในบ้านเราเติบโต

ส่วนทิศทางการแข่งขัน ก็ยังถือว่า  รุนแรง โดยเฉพาะการห้ำหั่นในเรื่องราคาของผู้เล่นรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Lazada , Shopee , JDcentral เพื่อเป็นการสร้างตลาด เพราะเรื่องอีคอมเมิร์ซในไทยยังอยู่ในระยะเริ่มต้น