ตัวแทนค้าปลีก-อีคอมเมิร์ซ ยืนยันแล้ว Retail ต้องรีบปรับตัว ไม่งั้นรอดยาก!

ตัวแทนค้าปลีก-อีคอมเมิร์ซ ยืนยันแล้ว Retail ต้องรีบปรับตัว ไม่งั้นรอดยาก!
24
Jul

การเข้ามาของ E-Commerce ย่อมส่งผลต่อการค้าปลีก (Retail) ทำให้ยักษ์ใหญ่ที่เปิด ทําเว็บขายของ หลายรายต้องปรับตัว แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้คนไทยที่ประกอบธุรกิจ SME ที่ไหวตัวทัน จะไม่ขายสินค้าแค่ทางออฟไลน์อีกต่อไป แต่ยังเพิ่มช่องทางการ รับทำ online shop การขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีธุรกิจค้าปลีกและ E-Commerce จากต่างประเทศ (โดยเฉพาะจีน) เข้ามาตีตลาดเมืองไทยด้วยเช่นกัน จึงเป็นคำถามว่าค้าปลีกทั้งออฟไลน์และออนไลน์จะเอาตัวรอดได้อย่างไร

เราได้สรุปข้อมูลที่น่าสนใจจาก วรวุฒิ อุ่นใจ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย และ ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย ที่กล่าวไว้ในงาน Brand Inside Forum 2019: New Retail ไว้ดังนี้

ช้อปปิ้งออนไลน์ กลายเป็นพฤติกรรมหลักคนไทย

ธนาวัฒน์ เริ่มเล่าข้อมูลจาก We Are Social ระบุว่าคนไทยใช้เวลาบน Internet เฉลี่ย 9 ชั่วโมง 11 นาที ต่อวัน ซึ่งสูงสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 6 ชั่วโมง 42 นาที ต่อวัน) และคนไทยยังใช้เวลาบน Mobile Internet เฉลี่ย 5 ชั่วโมง 13 นาที ต่อวัน ซึ่งสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลก (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 3 ชั่วโมง 14 นาที ต่อวัน)

ประกอบกับข้อมูลจาก ETDA ระบุว่า “การช้อปปิ้งออนไลน์” ถือเป็น 1 ใน 5 กิจกรรมในเน็ตยอดนิยมที่คนไทยใช้เวลานานที่สุด สะท้อนให้เห็นว่า E-Commerce กลายเป็นพฤติกรรมหลักของผู้บริโภคยุคนี้ที่ภาคธุรกิจมองข้ามไม่ได้อีกต่อไป

โดยสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย ได้ประมาณการว่ามูลค่าตลาด E-Commerce ไทย (ภาพรวม) ปี 2017 มาจาก 3 ช่องทาง ได้แก่

  • Social Media (เช่น Facebook, LINE, Instagram ฯลฯ) 40 เปอร์เซ็นต์
  • E-Marketplace (เช่น JD Central, Lazada, Shopee ฯลฯ) 35 เปอร์เซ็นต์
  • Brand ที่ทำ E-Commerce เอง 25 เปอร์เซ็นต์

รวมถึงยังคาดการณ์อีกว่า มูลค่าตลาด E-Commerce ไทย เฉพาะของ SME ซึ่งมียอดขายไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อปี ซึ่งในปี 2017 มาจาก 3 ช่องทาง แต่มีสัดส่วนที่ต่างออกไป ดังนี้

  • Social Media (เช่น Facebook, LINE, Instagram ฯลฯ) 75 เปอร์เซ็นต์
  • E-Marketplace (เช่น JD Central, Lazada, Shopee ฯลฯ) 24 เปอร์เซ็นต์
  • Brand ที่ทำ E-Commerce เอง 1 เปอร์เซ็นต์

โดยคุณธนวัฒน์ยอมรับว่าการทุกอย่างบน ที่ทำการซื้อขายบน เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ โลกออนไลน์นั้นเริ่มมาจากคอนเทนต์ ดังนั้นถ้าเราอยากจะขายสินค้าออนไลน์ เราต้องสามารถสร้างคอนเทนต์ขึ้นมาเป็นเอกลักษณ์หรือเป็นที่จดจำได้ เช่น บังฮาซัน ที่ขายอาหารทะเลจนโด่งดังขึ้นจากช่องทางที่ทั่วโลกไม่ได้ใช้อย่าง Facebook Live และรสชาติอาจจะไม่ได้อร่อยกว่าเจ้าอื่น แต่เขาสร้างการจดจำและทำให้คนกลับมาซื้อซ้ำได้

“อะไรก็ขายออนไลน์ได้ เพราะฉะนั้นมันอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์แล้วล่ะครับ ว่าคุณจะสร้างคอนเทนต์อะไร ที่มันโดนใจผู้ซื้อบนโลกออนไลน์” ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย กล่าว

แนะ 3 ช่องทางการขายออนไลน์ที่ SME ไทย

  1. Social Media – เพราะคนไทยใช้ช่องทางการซื้อขาย นี้เยอะ รวมถึงข้อมูลที่ระบุไปก่อนหน้านี้ว่าคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตนาน และมีการใช้ Social Media อยู่ในอัตราที่สูง
  2. Website – เป็นช่องทางที่ต้องอาศัยพลังและความรู้ในการสร้างพอสมควร ข้อดีคือเราเป็นเจ้าของช่องทางนี้แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ เราอยากจะวางสินค้าอะไร สามารถวางได้ตามที่เราต้องการ รวมถึงเราก็สามารถเก็บข้อมูลทุกอย่างได้อย่างครบถ้วน
  3. E-Marketplace – อย่าง Lazada, Shopee, JD Central คนไทยชอบ เพราะมีส่วนลดเยอะ ซื้อได้ง่าย ช่องทางชำระเงินหลากหลาย ส่งรวดเร็ว

4 ประเด็นที่ทำให้ค้าปลีกไทยโตต่ำ

ส่วนวรวุฒิ อุ่นใจ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย มองว่า 4 ประเด็นที่ทำให้ค้าปลีกไทยโตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น มีดังนี้

  1. กำแพงภาษี Luxury Brandname สูงเกินไป – เดิมสร้างกำแพงภาษีสูงถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์เพราะกลัวฟุ่มเฟือย แต่เพื่อนบ้านภาษีของสินค้าแบบนี้คิดเพียง 4-5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ไทยจึงควรเปลี่ยนนโยบายตรงนี้ เพราะ Luxury Brandname มันเปลี่ยนเป็น Lifestyle brandname แล้ว
  2. ธุรกิจ Dutyfree เน้นทำตลาดกับคนในประเทศ – ปกติในต่างประเทศ ธุรกิจ Dutyfree จะเน้นทำตลาดกับคนต่างชาติ แต่ในไทยกลับเน้นทำตลาดกับคนในประเทศ รวมถึงเก็บรายได้เป็นสัดส่วนที่น้อยและได้มาจากเจ้าเดียวเท่านั้น
  3. ไม่มีนโยบายกระตุ้นการช้อปปิ้งเชิงท่องเที่ยว – หลายประเทศจะมีเทศกาลถนนคนเดินชัดเจน เปิดพื้นที่การท่องเที่ยวให้มีการขายสินค้าด้วย ซึ่งไทยไม่มีนโยบายด้านนี้ที่ชัดเจนนัด
  4. Gray Market ที่ยังตรวจสอบและปราบปรามไม่ได้ – การหิ้วสินค้าจากต่างประเทศมาขาย ซึ่งหลายที่เป็นการขายแบบหนีภาษี ซึ่งความน่ากลัวคือเป็นตลาดที่ใหญ่ (คิดเป็น 20-30 เปอร์เซ็นต์ของ GDP หรือประมาณ 10 ล้านล้านบาท) และที่สำคัญ คือ ตลาดดังกล่าวยังตรวจสอบไม่ได้

ยืนยันว่าไม่ว่าค้าปลีกบนหน้า เว็บไซต์ ขาย สินค้า ออนไลน์ ในประเภทหรือ Sector ไหนก็สามารถอยู่รอดได้ ถ้ามีการปรับตัวรับกับสภาพตลาดที่เปลี่ยนไป และไม่ควรปรับทุกอย่างเพื่อแข่งกับจีนไปตลอด เพราะจะทำให้เราเจ็บตัวกว่าเดิม แต่ต้องหาจุดเด่นในการสร้าง ทำเว็บไซต์ ecommerce ของตัวเองให้เจอ แล้วนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อให้สร้างประสบการณ์แก่ลูกค้า (Customer Experience) เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์

รวมถึงต้องไม่ลืมการปรับตัวร้านเพื่อดึงดูดให้ลูกค้าอยู่ได้นานขึ้น เมื่อลูกค้าอยู่ในร้านนาน ก็จะมีโอกาสปิดการขายได้มากยิ่งขึ้น และต้องให้ความสำคัญกับการให้บริการแก่ลูกค้าด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ยังแนะนำให้ปรับการทำค้าปลีกให้กลายเป็น Omni-Channel นั่นคือการทำให้การขายทั้งทางออฟไลน์และออนไลน์เชื่อมโยงกันแบบไร้รอยต่อ เช่น ระบบสต๊อกทั้งสองฝั่งจะเห็นทันทีว่าเหลือของอยู่เท่าไหร่ Top 500 มีเท่าไหร่ ซึ่งจะทำให้เติมสต๊อก ได้ทันท่วงที

โดยย้ำว่าการมีทั้งสองช่องทางแต่ไม่เชื่อมโยงกัน อันนั้นเป็นแค่ Multi-Channel เท่านั้น เรียกว่าเป็น Omni-Channel ไม่ได้

“เราต้องปรับตัว อะไรที่(จีน)เขาทำ (เรา)อย่าไปทำ อะไรที่เขาชนตรงๆ เราอย่าไปชนแข่ง ต้องทำในสิ่งที่เขาไม่ทำ” วรวุฒิ อุ่นใจ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าว

ที่มา : www.thumbsup.in.th